• น้ำแข็งขั้วโลกเหนือเสี่ยงละลายหมดใน10ปี

    จากการตรวจสอบภาพถ่ายดาวเทียมของ ESA พบว่า แผ่นน้ำแข็งขนาด 900 คิวบิก กม. ได้ระเหยไปจากขั้วโลกเหนือภายในเวลาเพียง 1 ปี หรือน้ำแข็งขั้วโลกเหนือกำลังละลายเร็วกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยคาดการณ์ไว้ถึง 50% ...

  • นายกฯ อินเดียยันเตรียมส่งยานสำรวจดาวอังคาร

    โปรเจกต์ดังกล่าวจะถือเป็นความคืบหน้าอีกขั้นของโครงการอวกาศอันทะเยอทะยานของอินเดีย ซึ่งเคยส่งยานสำรวจขึ้นไปบนดวงจันทร์เมื่อ 3 ปีก่อน และวาดภาพภารกิจมนุษย์อวกาศคนแรกในปี 2016 ...

  • นักบินอวกาศชาวมะกัน“นีล อาร์มสตรอง”เสียชีวิตแล้ว

    รายงานข่าวระบุว่า “นีล อาร์มสตรอง” เคยเข้ารับการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา หลังแพทย์พบอาการอุดตันที่หลอดเลือดแดงใหญ่ที่หัวใจ ขณะที่ครอบครัวของ “นีล อาร์มสตรอง” ออกแถลงการณ์ระบุว่า เขาเสียชีวิตระหว่างการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจ และมีอาการติดเชื้อ แต่ไม่ได้ระบุว่าเสียชีวิตที่ไหน แต่เขาก็เป็นเสมือนกับวีรบุรุษของชาวอเมริกันผู้ถูกละเลย เพราะได้ทำหน้าที่อย่างเต็มภาคภูมิให้กับประเทศชาติในฐานะนักบินขับไล่แห่งกองทัพเรือสหรัฐ นักบินทดสอบ และ นักบินอวกาศ. ...

  • นักบินอวกาศ "เสินโจว 9" เปิด "นิทรรศการการเชื่อมต่อกันในอวกาศพร้อมมนุษย์ครั้งแรกของจีน" ที่ฮ่องกง

    นิทรรศการดังกล่าวจะเปิดให้ประชาชนเข้าชมฟรีต่อเนื่องกันเป็นเวลา 15 วัน โดยมีการจัดแสดงสิ่งของอันล้ำค่า 16 ชุด ภาพถ่ายที่เกี่ยวกับยานอวกาศ "เสินโจว 9" กว่า 100 ภาพ ภาพทั้งตัวของนักบินอวกาศ 3 คนในระบบ 3 มิติ ตลอดจนบันทึกเกี่ยวกับนักบินอวกาศทำการทดลองหลายรายการในสภาพไร้น้ำหนัก ทั้งนี้ผู้ชมจะสามารถเข้าใจปฏิบัติการการบินอวกาศของ "เสินโจว 9" และเรื่องราวต่างๆ ของนักบินอวกาศ 3 คนได้เพิ่มขึ้นอีกขั้น ...

การลำดับชั้นหิน

วิชาลำดับชั้นหิน (อังกฤษ: Stratigraphy) เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งว่าด้วยรูปแบบ การวางตัว การแผ่กระจาย การสืบลำดับอายุ (chronolgic succession) การจำแนกชนิดและสัมพันธภาพของชั้นหิน (และหินอย่างอื่นที่สัมพันธ์กัน) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดที่มีอยู่ในหิน เป็นเกณฑ์กำหนดแบ่ง เพราะฉะนั้นวิชานี้จะมีความเกี่ยวข้องกับต้นกำเนิด องค์ประกอบสภาพแวดล้อม อายุ ประวัติ สัมพันธภาพที่มีต่อวิวัฒนาการของสิ่งที่มีชีวิต ตลอดจนลักษณะอื่น ๆ ของชั้นหิน สรุปว่า ในการจำแนกลำดับชั้นหิน หินทุกชนิดไม่ว่าจะวางตัวเป็นชั้นหรือไม่เป็นชั้น ก็อยู่ภายในขอบข่ายทั่วไปของวิชาลำดับชั้นหินและการจำแนกลำดับชั้นหินนี้ด้วยเพราะหินเหล่านั้นสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดหรือเกี่ยวเนื่องกันกับชั้นหิน

สรุปก็คือวิชาลำดับชั้นหินเป็นสาขาวิชาที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ทางแนวตั้งและทางข้างทั้งหลายของหินตะกอนโดยความสัมพันธ์เหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นจากพื้นฐานของคุณสมบัติในทางกายภาพและทางเคมีลักษณะทางบรรพชีวิต ความสัมพันธ์ด้านอายุ และคุณสมบัติทางธรณีฟิสิกส์ซึ่งใช้กันมากในปัจจุบัน ก่อนปี ค.ศ. 1970 นั้น วิชาลำดับชั้นหินจะเกี่ยวข้องส่วนใหญ่กับแนวความคิดแบบดั้งเดิมทั้งหลายของ การลำดับชั้นหินตามอายุกาล


กฎวิชาลำดับชั้นหิน (Principles of Stratigraphy)

กฎข้อแรกของวิชาลำดับชั้นหินก็คือ กฎของการวางตัวตามแนวนอนตอนเริ่มต้น (Law of original horizontality) ซึ่งกล่าวได้ว่า ถ้าไม่คำนึงถึงสภาพการวางตัวของชั้นหินที่เราพบเห็นอยู่ในปัจจุบัน ชั้นหินเหล่านั้นได้สะสมตัวในตอนเริ่มต้นเป็นชั้นที่วางตัวตามแนวนอนหรือเกือบตามแนวนอน และขนานหรือเกือบขนานกับพื้นผิวโลก ดังนั้นถ้าชั้นหินที่พบในปัจจุบันมีการเอียงเทหรือตลบทับแล้ว ชั้นหินดังกล่าวจะต้องถูกรบกวนมาตั้งแต่ที่มันได้สะสมตัวในตอนเริ่มต้นตามแนวนอนเป็นต้นมา

เนื่องจากตะกอนได้สะสมตัวเป็นชั้นตามแนวนอน มันจึงมีประโยชน์สำหรับการกำหนดอายุสัมพัทธ์ นอกจากนี้ยังมี กฎของลำดับชั้น (Law of superposition) ซึ่งเป็นกฎทั่วไปที่ใช้ในทางธรณีกาล เกี่ยวกับการลำดับชั้นหิน หรือหินอัคนีผุที่ยังไม่มีการเลื่อนย้อนหรือตลบทับของชั้นหิน ในกฎการลำดับชั้นให้ถือว่า ชั้นหินที่มีอายุอ่อนกว่าวางทับอยู่บนชั้นหินที่มีอายุแก่กว่า

ดังนั้น ในพื้นที่ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนลักษณะการแปรสัณฐาน (tectonic deformation) หลังการสะสมตัวของตะกอน เราสามารถลำดับชั้นหินทั้งหลายที่ปรากฏอยู่นั้นได้อย่างง่ายดาย โดยอาศัยกฎดังกล่าวข้างต้น แต่ในพื้นที่ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการแปรสัณฐาน เช่น ชั้นหินถูกตลบทับ ในกรณีดังกล่าวนี้จะต้องค้นหาตัวชี้บอกเพื่อใช้เป็นเกณฑ์กำหนดว่า ชุดหินดังกล่าวอยู่ในลำดับตามปกติของการสะสมตัว หรืออยู่ในลำดับที่พลิกกลับ (รูปภาพที่ 1) โดยทั่วไปนั้นจะต้องมีตัวชี้บอกมากกว่าหนึ่งอย่าง เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่าชั้นหินดังกล่าวถูกตลบทับจริง

รูปภาพที่ 1 ภาพหินโผล่บริเวณจังหวัดเลย ที่แสดงให้เห็นชั้นหินที่ถูกกระทำให้คดโค้งและมีลักษณะทางโครงสร้างของหินตะกอน ซึ่งมีประโยชน์ในการจำแนกว่าชั้นหินดังกล่าวอยู่ในตำแหน่งตามปกติ (หันด้านบนขึ้น) อยู่ในตำแหน่งในแนวตั้ง หรือถูกตลบทับเอาไว้ ที่มา Neawsuparpa,et al., (2005)




รูปที่ 2 เป็นภาพที่แสดงให้ในการเคลี่อนย้ายไปของลักษณะปรากฏ (Facies migration) ซึ่งเป็นผลซึ่งเกิดจากปริมาณของการให้ตะกอนที่แตกต่างกัน ในขณะที่ระดับน้ำทะเลลดลง ที่มา Math/Science Nucleus © 2001

Johanes Walther ได้พัฒนา กฎของลักษณะปรากฏ (Law of lateral continuity) ซึ่งกล่าวได้ว่าชั้นหินได้สะสมตัวเป็นชั้นที่ต่อเนื่องไปตลอดแอ่งสะสมตัวและอาจถูกเทียบสัมพันธ์กันได้ แม้จะอยู่ห่างกันออกไปก็ตาม (รูปภาพที่ 3)

กฎพื้นฐานอีกประการหนึ่งของวิชาลำดับชั้นหินก็คือ กฎของความสัมพันธ์กันของการตัดขวาง (Law of cross - cutting relationships) และผลที่ตามมาของกฎดังกล่าวนี้คือ กฎของสิ่งปะปนเข้าไป (Law of inclusions) ซึ่งแนวความคิดเหล่านี้จะถือว่าสิ่งใดก็ตามที่ตัดผ่านชั้นหินตะกอนจะมีอายุอ่อนกว่าชั้นหินดังกล่าว ดังนั้นพนัง (dike) ที่ตัดผ่านชั้นหินตะกอนก็จะมีอายุอ่อนกว่าชั้นหินตะกอนนั้น ในทำนอนเดียวกัน สิ่งที่ปะปนเข้าไป เช่น เศษหินหรือเปลือกหอยในหินกรวดมน จะต้องมีอายุแก่กว่า และจะต้องมีอยู่ก่อนที่ชั้นหินดังกล่าวได้สะสมตัวขึ้น

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม